กองทุน คลังความรู้ ธุรกิจ 18/08/21
ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา การเล่นเกม และแข่งขัน E-sports กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจอย่างมาก มีการบรรจุลงในการแข่งขันกีฬาระดับชาติอย่าง SEA Game และ Asian Game
เกมไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กแบบในอดีตอีกแล้ว จากสถิติพบว่า อายุเฉลี่ยของผู้เล่นเกมสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นหมายความว่า จะคนวัยไหนก็เล่นเกมกันทั้งนั้น นักกีฬา E-sport และนักแคสท์เกมที่ในอดีตเคยมองเป็นอาชีพที่ไร้สาระ แต่ปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมและยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนมีอิทธิพลไม่แพ้ดาราและนักร้องเลยทีเดียว รวมถึงสามารถทำเงินได้มหาศาลจาก Sponser ที่เข้ามาอีกด้วย
สิ่งที่ทำให้การลงทุนในอุตสาหกรรม E-sports ได้รับความสนใจเป็นพิเศษก็คือ ปี 2020 ผู้คนทั้งโลกไม่สามารถออกไปทำกิจกรรม หรือพบปะกันในโลกแห่งความเป็นจริงได้ในช่วงการระบาดของ covid-19 คนจึงหันมาเล่นเกมและดูการแข่งขัน E-sports กันมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทในอุตสาหกรรม E-sports กำไรโตกระฉูดและสามารถสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้เป็นอย่างดี
เกริ่นนำมามากพอแล้วงั้นเราไปเจาะลึกอุตสาหกรรม E-sports กันเถอะ!
Game Platform
เมื่อแบ่งประเภทอุปกรณ์เล่นเกมจะมี 3 platform หลัก ๆ คือ PC Console และ Mobile
PC platform: คือการเล่นเกมบนคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คส่วนตัว ซึ่งผู้ที่เล่น platform นี้ถือว่าเป็นนักเล่นเกมที่ Hardcore ที่สุด เนื่องจากต้องลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสเปคสูง และมักจะแพงกว่าอุปกรณ์ใน platform อื่นอยู่เสมอ
Console platform: คือการเล่นเกมบนเครื่องเล่นเกม เช่น PS5, Xbox One, Nintendo Switch
Mobile platform: คือการเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือหรือ ipad ที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายมาก จึงมีจำนวนผู้เล่นผ่าน platform นี้ใหญ่ที่สุด ซึ่งตั้งแต่ปี 2015 Mobile gaming มีรายได้เติบโตเฉลี่ย 22% ต่อปี สูงกว่า platform อื่นชัดเจน
อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมคือ บรรดาผู้ผลิตเกมได้เปลี่ยน business model จากเดิมที่ขายแผ่นเกมเป็นหลัก (ลูกค้าซื้อครั้งเดียว) แต่ในปัจจุบันเน้นไปที่การขายแบบ Subscription และ in game purchase มากขึ้น เพื่อให้เกิดรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น บริษัท EA ได้เสนอ “EA Play” โดยเก็บเงินรายเดือนประมาณ 150 บาท เพื่อให้ผู้สมัครได้สิทธิเล่นเกมในเครือของ EA ทั้งหมด รวมทั้งได้ item พิเศษในเกมอีกด้วย
เล่าให้เห็นภาพก็ เช่น เกมฟุตบอล FIFA ถ้าต้องการได้ตัวผู้เล่นดี ๆ ก็ต้องซื้อ point เพื่อมาลุ้นการ์ดนักเตะ และมีกิจกรรมให้ผู้เล่นได้ร่วมสนุกและเสียเงินในกระเป๋าอยู่ตลอดเวลา (ผลดีก็ตกไปถึงบริษัทผู้ผลิตเกม ที่เก็บรายได้เข้ากระเป๋าเรื่อย ๆ)
บริษัทที่เกี่ยวกับ E-sports มีอะไรบ้าง?
อุตสาหกรรม E-Sport เราจะสรุปบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้ดังนี้
Publishers และ Developers: ผู้ผลิตและพัฒนาเกมบน platform ต่าง ๆ ทั้ง Mobile, Console และ PC เช่น บริษัท Electronic Arts / Activision Blizzard / Ubisoft / Tencent / Sea / Take-Two Interactive / Nintendo
Console makers: ผู้ผลิตและพัฒนาเครื่องเกม เช่น บริษัท Nintendo / Sony / Microsoft
Chip makers: ผู้ผลิตและพัฒนาชิปเซตเพื่อประมวลผลภาพกราฟฟิค เช่น บริษัท Nvidia / AMD
E-Sports: ผู้จัดการแข่งขัน E-Sport รายได้มักจะมาจากการจัด event และเงิน sponsorship เช่น บริษัท Konami / Electronic Arts / Activision Blizzard / NetEase / Take-Two Interactive
Hardware: ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเล่นเกม เช่น คีย์บอร์ด หูฟัง และอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น บริษัท / Micro Star International / Asus / Kingstons / Razer / Logitech
Live streaming: ผู้ให้บริการ platform ในการถ่ายทอดสดการเล่นเกม เช่น Twitch ของเครือ Amazon และ Bilibili
สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกม
ปี 2020 มีผู้เล่นเกมทั้งหมด 2,600 ล้านคน หรือคิดเป็น ⅓ ของประชากรทั้งโลก
อายุเฉลี่ยของ global gamer คือ 34 ปี
โดยผู้เล่นที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และ มากกว่า 50 ปีนั้นมีสัดส่วนแทบไม่ต่างกัน คือ 17% และ 15% ตามลำดับ
เกมจาก smart phone และ smart watch ครองสัดส่วนรายได้ 50% จากเกมทุกประเภทรวมกัน
70% ของผู้ปกครองใน US บอกว่าเกมนั้นส่งอิทธิผลในแง่บวกให้ลูก ๆ ของเขา นอกจากนี้มากกว่า 67% เล่นเกมกับลูก ๆ สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย
83% ของการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมเกมอยู่ในรูปแบบ digital
LHESPORT & WE-PLAY
กองทุนทั้ง 2 กองเป็น Feeder Fund ที่ลงทุนใน ESPO-VanEck Vectors Video Gaming and eSports ETF (Master Fund) ทรัพย์สินที่ลงทุนจึงหน้าตาเหมือนกันเป๊ะ แตกต่างกันที่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ค่าธรรมเนียม โดย ESPO สร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี สูงถึง 40% และตั้งแต่ IPO วันที่ 18 ต.ค. 2561 สร้างผลตอบแทนไปแล้วกว่า 137% โดยรวมแล้วถือว่าเป็นกองทุนที่ลงทุนใน E-Sports Ecosystem ได้ค่อนข้างครบ (แต่มีน้ำหนักลงทุนในกลุ่ม hardware ไม่มาก เพราะกลุ่มนี้น่าสนใจสู้กลุ่มอื่นไม่ได้)
ต่อจากนี้เราจะพาเจาะ หุ้นที่ถือของกองทุน LHESPORT, WEPLAY ว่าแต่ละตัวน่าสนใจอย่างไรบ้าง (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ก.ค. 2564 จาก ESPO ETF)
NVIDIA (Chip makers)
(NASDAQ: NVDA)
Holding: 9.0%
เจ้าแห่ง AI ผู้ผลิต GPU ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เพราะประมวลผลได้รวดเร็ว ทั้งในอุตสาหกรรม game, data center, AI training & inferece รวมถึงการทำเหมือง cryptocurrency ในช่วงโควิด-19 ระบาด ทำให้ความต้องการใช้จากเทคโนโลยีสูงขึ้น ทำให้ GPU ของ Nvidia ขาดตลาดและราคาขึ้นไปสูงกว่าราคาปกติหลายเท่าตัว Nvidia ยังเติบโตได้ดี โดยปีที่ผ่านมารายได้เติบโตกว่า 60% และปัจจุบันยังไม่มีบริษัทคู่แข่งที่สู้ได้ ทำให้ตลาดนี้ค่อนข้างถูกผูกขาดโดย Nvidia เลยทีเดียว
ผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง: 106%
AMD (Chip makers)
Holding: 8.0%
(NASDAQ: AMD)
ผู้ผลิตชิพ CPU เบอร์ 1 ของโลกในปัจจุบัน หลังสามารถล้ม Intel ที่เป็นเจ้าตลาด CPU เดิมได้ ทำให้ปัจจุบัน ถ้าซื้อ notebook, pc หรือเล่น game cosole ต่าง ๆ จะพบว่าใช้ CPU จาก AMD แทบทั้งสิ้น และในฝั่ง Data Center ก็ตาม Intel มาติด ๆ ในปีที่ผ่านมารายได้เติบโตกว่า 50%
ผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง: 70%
TENCENT (Publishers, Developers, Live streaming และ ผู้จัด E-Sports)
Holding: 7.6%
(SEHK: 0700)
Big Tech เจ้าแห่ง platform แดนมังกร ก่อตั้งเมื่อปี 1998 มีบริการสื่อความบันเทิงออนไลน์แทบทุกชนิด
จุดเด่นของ Tencent คือ ส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจมีการสนับสนุนกันและสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้หมด ผ่านแอปหลักอย่าง QQ และ WeChat ที่เป็น Social Media หลักที่คนจีนใช้ โดยบริษัทวาง position เป็น One-Stop Online Lifestyle จุดเด่นดังกล่าวทำให้บริษัทจากทั่วโลกที่ต้องการเข้าบุกตลาดจีนนิยมที่จะสร้างแอพของตนบน platform ของ tencent มากกว่า ไปสร้าง platform เอง เพราะมีผู้ใช้งานรองรับอยู่แล้ว รายได้หลักของบริษัทจะมาจากเกม โซเชียลเน็ตเวิร์ค โฆษณาออนไลน์ และบริการทางการเงิน
นอกจากนี้ Tencent มีลักษณะเป็น Holding ที่ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ online platform รวมถึงบริษัทในอุตสาหกรรม E-sports หลายร้อยบริษัททั่วโลก ตัวอย่างบริษัทในอุตสาหกรรม E-Sports ที่ Tencent ลงทุนเช่น SEA, Activision Blizard, Riot Games, Gluu, Epic Games, Ubisoft, Take-Two Interactive, bilibil, huyai และ บริษัทที่จัด E-Sports Tourament จำนวนมาก
SEA (Publishers และ Developers)
Holding: 6.6%
(NYSE: SE)
ถ้าบอกชื่อ SEA อาจจะไม่คุ้น แต่ถ้าบอกว่า Shopee กับ Garena คุ้นหูแน่นอน Garena เป็นเจ้าของเกมสุดฮิตบนโทรศัพท์อย่าง FREE FIRE, ROV ซึ่งเกมเหล่านี้ติด Top 1-3 download ในหลายประเทศทั่วโลกมาเป็นเวลาเกือบ 2 แล้ว และรายได้เติบโตมากกว่า 100% ในปีที่ผ่านมา
Shopee กลายเป็น platform E-Comerce ที่ปัจจุบันครองตลาด South East Asia และ Latin America เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (นับจากจำนวนผู้ใช้) แซงหน้า Alibaba ที่เป็น #1 อยู่ก่อนในหลาย ๆ ประเทศ ในปีที่ผ่านมารายได้เติบโตมากกว่า 100% เช่นกัน นับว่าช่วงที่โควิด-19 ระบาดเป็นนาทีทองของ SEA เลยทีเดียว เพราะธุรกิจหลักทั้ง 2 ส่วนเติบโตได้ดีมาก
ผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง: 137%
NINTENDO (Publishers, Developers และ Console makers)
Holding: 5.5%
บริษัทแดนปลาดิบ ผู้ผลิต Game Console ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันอย่าง Nintendo Switch กับ Wii U และ Game Software ในตระกูล mario และ Pokemon
บริษัทเคยอยู่ในจุดลำบาก เพราะการมาของ smart phone ทำให้ game console อย่าง gameboy ที่เคยเป็นสินค้าหลักของบริษัทขายไม่ได้ ทำให้หุ้นร่วงจากจุดสูงสุดในปีในปี 2017 กว่า 85% ก่อนจะค่อย ๆ หาทางไปต่อได้ และ turnaround ในที่สุด
ช่วงปีที่ผ่านมา nintendo switch ได้รับความนิยมมาก จากการนำไปต่ออุปกรณ์เสริมเล่น game สำหรับออกกำลังกาย โดยในปี 2020 มียอดขายเป็นอันดับ 2 เป็นรองแค่ PS5 จาก sony (นับจากจำนวนเครื่อง) และมียอดขายจากทั้ง Game Console และ Game Software เติบโตมากกว่า 30%
ACTIVISION BLIZZARD (Publishers, Developers + ผู้จัด E-Sports)
Holding 5.3%
(NASDAQ: ATVI)
ค่ายเกมอันดับ 1 จากอเมริกาที่เป็นผู้สร้างเกมสุดฮิตมาทุกยุคทุกสมัย ตัวอย่างเช่น Guitar Hero, StarCraft, World of Warcraft, Call of Duty, Diablo, Candy Crush บริษัทจะเน้นพัฒนาเกมบน PC มากกว่า ส่วนในโทรศัพท์จะเน้นขายลิขสิทธิ์ให้บริษัทอื่นไปพัฒนาต่อ ตัวอย่างเกมที่ให้ partner อย่าง netease ไปพัฒนาต่อ เช่น Diablo III, World of Warcraft, Hearthstone, Overwatch
NETEASE (Publishers, Developers และ Live streaming)
Holding: 5.1%
(NASDAQ: NTES)
ค่ายพัฒนาเกมมือถือและ pc แดนมังกร มีลักษณะธุรกิจเกม 2 แบบคือเกมที่พัฒนาเองและ ซื้อลิขสิทธิ์จาก partner มาทำต่อเอง บริษัทที่ Netease เป็นไปซื้อลิขสิทธิมาทำต่อ หรืออยู่เบื้องหลังการผลิต เช่น Activision Blizzard, Microsoft, Marvel Studio, Konami, Tencent สรุปได้ว่า Netease คือเบื้องหลังเกมดัง ๆ ทั่วโลกจำนวนมาก หากเล่นเกมค่ายไหนแล้วเห็นสัญลักษณ์ลูกไฟสีแดงบนแอปฯ ให้รู้ไว้ว่า Netease เป็นเจ้าของ
BILIBILI (Publishers, Developers และ Live streaming)
Holding: 5.0%
(NASDAQ: BILI)
บริษัท video platform ที่เปรียบเหมือน youtube เวอร์ชั่นจีน บริษัทเป็นม้ามืดที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัฒนธรรมโอตาคุแบบจีน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย Gen Z+ อายุต่ำกว่า 35 ลงไป ที่มีความสนใจใน Game, Anime, Cosplay, Technology, Lifestyle, Fashion และ Entertainment ซึ่งในตอนแรกนั้น Bilibili เป็น platform เพื่อคนเฉพาะกลุ่มมาก แต่ปัจจุบันกลายเป็นกระแสหลักของจีนไปแล้ว
นอกจากเป็น video platform แล้วบริษัทยังพัฒนาเกมเป็นของตัวเองอีกด้วย ปัจจุบันมีผู้ใช้งานต่อเดือนบน platform กว่า 223 ล้านคน และใช้งานเฉลี่ยกว่า 82 นาทีต่อวัน ในปีที่ผ่านมารายได้โตว่า 89% และรายได้จากโฆษณาเติยโตถึง 234%
ผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง: 122%
ขอขอบคุณข้อมูลจาก >>> finnomena.com
#Passive_Income #คู่มือเทรดForex #คู่มือเรียนรู้ฟอเร็กซ์ #แนะนำโบรกเกอร์แจกโบนัสเทรดหุ้นฟรี #เทรดหุ้นฟรีโบนัส #โบนัสฟอเร็กซ์ #Free_Bonus_Forex #ให้เงินทำงานแทนเรา #เทรดทอง #เทรดค่าเงิน #เทรดบิตคอยน์ #bitcoin #cryptocurrency #Forex_Technical_Analysis
Best of Cars ข่าวคราวยานยนต์ - ซื้อขายรถยนต์มือสอง - ชมรถสวยๆ Super Car , Hyper Car , Sport Car...คลิ๊ก Click!!!