(24-11-2020) ราคา Bitcoin พุ่งทะลุ 19,000 ดอลลาร์อย่างรุนแรง ทำจุดสูงสุดใหม่ของปี 2020 เหลือแค่ $1,000 จะแตะ $20,000
ราคา Bitcoin นั้นยังคงทำจุดสูงสุดในปี 2020 ใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ ในขณะนี้ โดยล่าสุดนั้นดูเหมือนว่ามันจะพุ่งทะลุระดับ 19,100 ดอลลาร์ไปอย่างรุนแรง ท่ามกลางแรงซื้อที่มหาศาลในตลาดขณะนี้
กราฟจาก TradingView เผยให้เห็นว่าราคาของ Bitcoin นั้นได้มีการพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงไม่กี่นาทีที่ผ่านมา โดยมันได้แสดงให้เห็นว่าราคานั้นได้พุ่งทะลุ 19,100 ไปแล้ว บ่งบอกว่าตลาดนั้นยังมีแรงในการทำจุดสูงสุดใหม่ในปี 2020 นี้ได้อย่างต่อเนื่อง และมีลุ้นที่จะพุ่งขึ้นไปทดสอบระดับ 20,000 ในไม่ช้านี้
ราคาของ Bitcoin นั้นกลายเป็นขาขึ้นอย่างรุนแรง หลังจากยักษ์ด้านการชำระเงินอย่าง Paypal ประกาศให้ลูกค้าซื้อขาย bitcoin ผ่านเว็บเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก >>> siamblockchain.com
เรามาทราบกันครับว่า ประวัติศาสตร์ Bitcoin เป็นอย่างไรบ้าง ???
บิทคอยน์ 1 Bitcoin ราคาเท่าไหร่ในปี 2009?
ในปี 2009 ยังไม่มีการแลกเปลี่ยน Bitcoin ในตลาดเงินตรา โดยมีการบันทึกราคาซื้อขายบิทคอยน์ครั้งแรกในปี 2010 ดังนั้น หมายความว่าในปีแรกที่เริ่มมีบิทคอยน์เกิดขึ้น บิทคอยน์มีราคาเป็น 0!
บิทคอยน์ 1 Bitcoin ราคาเท่าไหร่ในปี 2010?
ในปี 2010 ราคาบิทคอยน์ไม่เคยเกิน 1 เหรียญสหรัฐ โดยราคาสูงสุดในปีนั้น เพียงแค่ 0.39 ดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น
ราคาบิทคอยน์ขึ้นกับอะไร?
ราคาบิทคอยน์เวัดโดยอิงกับสกุลเงิน fiat อาทิ ดอลล่าร์สหรัฐ (BTCUSD) เงินหยวนของจีน (BTCCNY) หรือยูโร (BTCEUR) ดังนั้นหากมองอย่างผิวเผิน บิทคอยน์ก็มีลักษณะเป็นเหมือนสกุลเงินหนึ่งที่แลกเปลี่ยนซื้อขายกันอยู่ในตลาด
แต่บิทคอยน์ต่างจากสกุลเงิน fiat ทั่วไป เนื่องจากไม่มีการประกาศราคากลาง มี่เพียงราคาเฉลี่ยที่อ้างอิงข้อมูลราคาจากตลาดเงินตราสากลต่าง ๆ ราคาสามารถดูได้จากดัชนี Bitcoin Average และ CoinDesk ซึ่งเป็นดัชนีที่ให้ข้อมูลราคาเฉลี่ยของบิทคอยน์ โดยส่วนใหญ่แล้วราคาซื้อขายบิทคอยน์ในแต่ละตลาดเงินตราอาจจะแตกต่างไปจากราคาเฉลี่ยบ้างเล็กน้อย
แต่ถ้าไม่ดูความคลาดเคลื่อนเหล่านี้แล้ว ราคา Bitcoin ขึ้นกับอะไร?
อุปสงค์และอุปทาน
ส่วนใหญ่ เมื่อมีคำถามว่่าอะไรเป็นตัวกำหนดราคาของสินค้าหนึ่ง ๆ คำตอบที่ง่ายที่สุดคือ "อุปสงค์และอุปทาน" หมายถึง มีผู้ต้องการขายสินค้านั้นมากน้อยเพียงใด และมีผู้ต้องการซื้อสินค้านั้นมากน้อยเพียงใด การกำหนดราคา (Price discovery) เกิดขึ้น ณ จุดที่ผู้ขายยินดีขายและผู้ซื้อยินดีซื้อ เมื่อนำแนวคิดนี้มาพิจารณาบิทคอยน์ จะเห็นได้ว่า อุปสงค์บิทคอยน์ หรือจำนวนบิทคอยน์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะตกอยู่ในมือของผู้ที่เริ่มซื้อบิทคอยน์ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และนักขุด (miner) กลุ่มแรก ๆ
อุปสงค์ (Supply)
แนวคิดสร้างบิทคอยน์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดเกี่ยวกับราคาทองคำ การที่ทองคำมีค่าก็เพราะว่าเป็นโลหะที่มีอยู่ไม่มากในธรรมชาติ ดังนั้นบิทคอยน์จึงถูกกำหนดให้มีทั้งหมดเพียงแค่ 21 ล้านบิทคอยน์เท่านั้น ในจำนวนนี้มีการผลิตออกมาแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง
นักลงทุนที่ลงทุนในบิทคอยน์ตั้งแต่แรก อาจเรียกว่ามองการณ์ไกลหรือโชคดีที่ได้เก็บสะสม ซื้อ หรือขุด (mine) บิทคอยน์ไว้ในปริมาณมากตั้งแต่ก่อนที่บิทคอยน์จะมีค่า กรณีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคงหนีไม่พ้น นาย ซาโตชิ นาโกโมโตะ ผู้เป็นผู้คิดค้นบิทคอยน์ ซึ่งคาดว่าปัจจุบันเขาคนเดียวถือบิทคอยน์ไว้มากถึง 1 ล้านบิทคอยน์ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 4.75% ของปริมาณบิทคอยน์ทั้งหมดที่จะมีอยู่ได้ (หรือ 21 ล้านบิทคอยน์) ถ้าหากนายซาโตชิจะเทขายบิทคอยน์ทั้งหมดในตลาด ก็จะทำให้อุปสงค์พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาบิทคอยน์ตกต่ำทันที หรือหากผู้อื่นที่ถือบิทคอยน์ปริมาณมากจะทำแบบเดียวกัน ก็จะเกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกัน ดังนั้น นักลงทุนที่ฉลาดจะค่อย ๆ ทะยอยขายบิทคอยน์ทีละน้อย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับราคา
ในปัจจุบันนักขุดต่าง ๆ ทำการผลิตบิทคอยน์ออกมาประมาณวันละ 3,600 บิทคอยน์ ซึ่งเงินที่ได้จำนวนหนึ่งจะต้องนำไปใช้จ่ายค่าไฟฟ้าและค่าดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ค่าไฟฟ้าในการผลิตบิทคอยน์แต่ละวันตกประมาณ 500,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หากเรานำตัวเลขนี้มาหารด้วยราคา BTCUSD ของบิทคอยน์ ก็จะทราบว่าแต่ละวันมีบิทคอยน์ใหม่จากนักขุดเข้ามาในตลาดอย่างน้อยที่สุดเท่าใด
อุปทาน (Demand)
ในปัจจุบัน มี ค่าตอบแทนการขุด (mining reward) อยู่ที่ 25 BTC สำหรับแต่ละ block solution ดังนั้นอุปสงค์ของบิทคอยน์จะเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 6.25% ต่อปี ซึ่งค่านี้จะลดลงอย่างรวดเร็วในปี 2016 เมื่อค่าตอบแทนการขุดลดลงเหลือครึ่งเดียว แต่ถึงกระนั้น ราคาบิทคอยน์ก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราการเฟ้อจะสูงเช่นนี้ (ราคาเพิ่มสูงขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ค่าตอบแทนการขุดอยู่ที่ 50 BTC!) แสดงให้เห็นว่ามีความต้องการบิทคอยน์ในตลาดอย่างมาก ทุกวันมีผูู้ที่ต้องการซื้อบิทคอยน์เป็นจำนวนมากกว่าจำนวนบิทคอยน์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากนักขุดและที่ผู้ขายรายอื่น ๆ ต้องการปล่อยขาย
มีวิธีการหนึ่งที่มักนิยมใช้ในการดูแนวโน้มความต้องการของสินค้าใหม่ในตลาด คือดูจาก เทรนด์การเสิร์ชคำว่า "Bitcoin" จาก Google trends data (จากปี 2011 ถึงปัจจุบัน) เนื่องจากความสนใจเสิร์ชของตลาดมักจะไปในทิศทางเดียวกับราคาและสามารถใช้พยากรณ์ราคาได้ การที่บุคคลทั่วไปมีความสนใจสิ่งใดอย่างท่วมท้นอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อราคา เช่น เมื่อสื่อทำการเสนอข่าวเกี่ยวกับราคาบิทคอยน์ที่พุ่งสูงขึ้น มักจะทำให้นักลงทุนที่ตะกละแต่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องแห่กันเข้ามาซื้อบิทคอยน์ กลายเป็นการปั่นราคาให้สูงขึ้นเป็นฟองสบู่ ก่อนจะเกิดปรากฏการณ์ฟองสบู่แตก สำหรับบิทคอยน์ได้เคยเกิดฟองสบู่ขึ้นสองคร้งแล้ว และคาดเดาได้ว่ายังคงจะเกิดอีกในอนาคต
ปัจจัยที่นำไปสู่ความสนใจในบิทคอยน์
เริ่มแรก ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งให้ความสนใจแนวคิดบิทคอยน์ในฐานะเป็นสิ่งที่จะตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาของระบบเงินตราในเชิงการทำงาน เศรษฐกิจ และการเมือง นอกเหนือจากผู้สนใจกลุ่มนี้แล้ว บุคคลทั่วไปเริ่มหันมาสนใจบิทคอยน์เนื่องจากเหตุการณ์การปิดกั้นของสถาบันการเงินและวิกฤตสกุลเงิน fiant
การกีดกันจากสถาบันการเงิน (Banking Blockades)
เหตุการณ์แรก เกิดขึ้นในปี 2010 เมื่อ VISA, MasterCard, Western Union และ PayPal ไม่ยอมทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับการบริจาคเงินให้ WikiLeaks ในเหตุการณ์นั้นนายซาโตชิได้ขอร้องให้นายจูเลี่ยน อัสซานจ์ เจ้าของเว็บ WikiLeaks ปฏิเสธการรับเงินบริจาคในรูปแบบบิทคอยน์จนกระทั่งถึงกลางปี 2011 แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้ชี้ให้โลกเห็นว่าบิทคอยน์สามารถใช้เป็นสกุลเงินที่หลีกเลี่ยงการกีดกันจากรัฐบาลหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้
การกีดกันจากสถาบันการเงินเกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อ MasterCard และ VISA แบล็คลิสต์เว็บ Backpage.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์คล้าย Craigslist ขายพื้นที่ลงโฆษณาสำหรับเว็บไซต์และธุรกิจขายบริการทางเพศ เป็นผลให้ธุรกิจเหล่านี้จำต้องหันมาใช้บิทคอยน์ในการจ่ายค่าโฆษณา
หากจะกล่าวถึงธุรกิจที่ธนาคารทั่วไปจะไม่ยอมรับ (อย่างเปิดเผย) คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงตลาดยาเสพติดใน darknet ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการปิดตลาด Silk Road อันฉาวโฉ่ลงไปได้ แต่ตลาดของเถื่อนที่ซื้อขายกันด้วยบิทคอยน์ก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างคึกคักใน darknet มีแค่ 5% ของผู้ใช้ชาวอังกฤษที่ยอมรับว่าเคยซื้อยาเสพติดด้วยบิทคอยน์ แต่ตัวเลขที่แท้จริงคงสูงกว่านั้นมาก นอกจากนี้แล้ว การที่สื่อนำเสนอข่าวเกี่ยวกับตลาดใน darknet ยังส่งผลให้บุคคลทั่วไปรู้จักบิทคอยน์มากขึ้น
วิกฤตสกุลเงิน fiat
กระเป๋าบิทคอยน์อาจจะมีความปลอดภัยมากกว่าบัญชีธนาคาร จากเหตุการณ์ที่ไซปรัส เมื่อ เงินฝากประชาชนไซปรัสถูกยึด ในช่วงต้นปี 2013 คาดว่าเหตุการณ์นี้ เป็นผลให้บิทคอยน์ราคาพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากบุคคลทั่วไปเริ่มคิดได้ว่าบิทคอยน์อาจมีความปลอดภัยมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคาร
โดมิโนตัวต่อไปที่ล้มลง คือ กรีซ เมื่อรัฐบาลประกาศควบคุมเงินตราอย่างเข้มงวดในปี 2015 ประชาชนทั่วไปไม่สามารถถอนเงินได้เกิน 60 ยุโรต่อวัน เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นข้อดีของบิทคอยน์ซึ่งไม่จำเป็นต้องขึ้นกับหน่วยงานรัฐบาลและไม่สามารถมีผู้ควบคุมได้
ไม่นานหลังจากวิกฤตการเงินของกรีซ ประเทศจีนประกาศลดค่าเงินหยวน ซึ่งทำให้มีรายงานว่า ประชาชนจีนหันมาเก็บออมเงินเป็นบิทคอยน์ เพื่อปกป้องค่าเงินออมของตนเอง
ล่าสุด สถานการณ์ในอาร์เจนตินา ทำให้ราคาบิทคอยน์เพิ่มสูงขึ้นอีก หรืออย่างน้อยทำให้ผู้คนเห็นข้อดีของบิทคอยน์มากขึ้น เมื่อนาย Mauricio Macri ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ และสัญญาว่าจะยกเลิกการควบคุมเงินทุน ซึ่งจะทำให้ความแตกต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนกลางที่ประกาศโดยรัฐบาลกับอัตราแลกเปลี่ยน peso/USD ในตลาดมืดหายไป ประชาชนชาวอาร์เจนตินาที่สามารถใช้เงินดอลล่าร์ตลาดมืดซื้อบิทคอยน์ได้ ก็จะสามารถป้องกันตนเองจากผลกระทบทางการเงินที่จะเกิดขึ้นได้
การปั่นค่าเงิน (Market Manipulation)
หากจะกล่าวถึงราคาบิทคอยน์ ก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงการปั่นราคาค่าเงิน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความผันผวนเป็นอย่างมาก บิทคอยน์เคยมีราคาสูงสุดเกิน 1,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจากการซื้อขายอัตโนมัติของโปรแกรม หรือที่เรียกกัน่ว่า bots ในตลาดเงินตรา Mt. Gox มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า โปรแกรม bots เหล่านี้ทำงานเข้าข่ายการทำธุรกรรมทุจริต โดยนาย Mark Karpeles ที่ทำงานในตลาดเงินตราดังกล่าว ได้ให้โปรแกรมทำการประมูลราคาบิทคอยน์ด้วยเงินทุนที่ไม่มีอยู่จริง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว Mt. Gox เป็น ตลาดบิทคอยน์ รายใหญ่ที่สุดในขณะนั้น แต่ในปัจจุบันมีตลาดเงินตราใหญ่จำนวนมาก ดังนั้นถึงหากเกิดกรณีแบบเดียวกันในตลาดใดตลาดหนึ่งก็จะไม่ทำให้ราคาบิทคอยน์แกว่งได้ขนาดนั้น
ความเสี่ยงของบิทคอยน์
อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำอีกครั้งว่าบิทคอยน์เป็นเพียงแนวคิดทดลอง และจัดว่ามีความเสี่ยงสูง และมีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถทำให้ราคาบิทคอยน์ตกต่ำได้ ที่สำคัญที่สุดคือ หากรัฐบาลของประเทศสำคัญประเทศใดประเทศหนึ่งประกาศแบนหรือควบคุมธุรกรรมบิทคอยน์ นอกจากนี้แล้ว หากเครือข่ายเทคโนโลยีบิทคอยน์เกิดการแตกเป็นหลายแขนงและพัฒนาไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้ราคาตกได้ และท้ายที่สุด หากมีสกุลเงินดิจิทัลเป็นคู่แข่งเกิดขึ้น โดยเฉพาะหากสกุลเงินนั้นได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อาจทำให้บิทคอยน์สูญเสียที่ยืนในตลาดได้
ราคาไม่ปกติ
บางครั้ง ราคาบิทคอยน์ในตลาดหนึ่งอาจแตกต่างจากราคาเฉลี่ย อย่างที่เห็นได้ระยะหนึ่งบน Mt. Gox ก่อนที่ตลาดจะล่ม และอีกครั้งบนตลาด Gemini ของ Winkelvoss
ในช่วงกลางปี 2015 ราคา BTCUS พุ่งสูงถึง 2,200 ดอลล่าร์สหรัฐ บน Gemini ในขณะที่ในตลาดอื่นยังทำการซื้อขายกันอยู่ที่ 330 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งในที่สุดแล้ว การซื้อขายในราคาที่ไม่ปกติเช่นนี้ถูกยกเลิกเป็นโมฆะ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายครั้งในตลาดทุกตลาด โดยอาจเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์หรือซอฟต์แวร์
ในที่สุดแล้ว Bitcoin จะมีค่าเท่ากับเท่าใดนั้นก็ขึ้นกับว่าผู้ใช้ยินดีซื้อและขายกันที่ราคาเท่าใด ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับจิตวิทยาของมนุษย์พอ ๆ กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ดังนั้นผู้ที่ต้องการถือบิทคอยน์จึงไม่ควรปล่อยให้อารมณ์เข้าครอบงำการซื้อขายในตลาด แต่ควรจะมีกลยุทธ์ที่แน่นอนเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ
หากเป้าหมายคือต้องการ สะสม Bitcoin วิธีที่ดีที่สุดคือการกันเงินทุนส่วนหนึ่งเป็นปริมาณที่แน่นอน เพื่อมาซื้อบิทคอยน์ทุกเดือน ไม่ว่าราคาบิทคอยน์ขณะนั้นจะเป็นอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไป วิธีการนี้ (ซึ่งเรียกว่า การเฉลี่ยราคา หรือ Dollar-cost averaging) จะทำให้สามารถสะสมบิทคอยน์ได้ในราคาเฉลี่ยที่สมเหตุสมผล โดยไม่ต้องกังวลกับราคาที่อาจผันผวนได้อย่างมากของบิทคอยน์
ขอขอบคุณบทความดีๆจาก >>> buybitcoinworldwide.com
#Passive_Income #คู่มือเทรดForex #คู่มือเรียนรู้ฟอเร็กซ์ #แนะนำโบรกเกอร์แจกโบนัสเทรดหุ้นฟรี #เทรดหุ้นฟรีโบนัส #โบนัสฟอเร็กซ์ #Free_Bonus_Forex #ให้เงินทำงานแทนเรา #เทรดทอง #เทรดค่าเงิน #เทรดบิตคอยน์ #bitcoin #cryptocurrency #Forex_Technical_Analysis